วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ

ไฟเขียวเกณฑ์ใหม่เลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญเอื้อครูมีผลงานเด่นระดับชาติ


เมื่อวันที่ 5 มกราคม นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ.ว่า ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ในสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษาสายงานบริหารการศึกษา และสายงานนิเทศก์การศึกษา โดยการขอประเมินวิทยฐานะในเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ขอ ซึ่งผู้ที่จะได้รับการพิจารณาต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิทยฐานะ มีภาระงานการสอนขั้นต่ำ/ภาระงานตามที่ส่วนราชการกำหนด และปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ขอรับการประเมินวิทยฐานะ ว17/2552 มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ โดยต้องเป็นผลงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้มีผลงานดีเด่นที่ครูได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับจากส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมขึ้นไป และมีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับผลงานที่ดีเด่น

ประธานคณะกรรมการ ก.ค.ศ.กล่าวว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องจัดทำผลงานทางวิชาการในรูปแบบเอกสารเต็มรูปแบบ แต่ให้เขียนรายงานเกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ในหัวข้อปัญหาคืออะไร ปฏิบัติอย่างไร ผลเป็นอย่างไร ต่อไปจะทำอย่างไร โดยให้เขียนรายงานไม่เกิน 50 หน้ากระดาษเอ 4 สำหรับการประเมินจะมี 3 ด้าน คือ
ด้านที่ 1.ด้านวินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ และ
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
ส่วนการประเมินจะมีคณะกรรมการประเมิน 2 ชุด ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดที่ 1 ประเมินด้านที่ 1. และ2.และคณะกรรมการชุดที่ 2 จะประเมินด้านที่ 3.ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดที่ 2 จะมีกรรมการประเมินจำนวน 5 คนต่อผู้ขอ1 ราย ซึ่งจะเน้นการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพในการปฏิบัติงานและผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ใช้รายงานของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเสนอประกอบการพิจารณา และจะทำการประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งการประเมินทั้ง 3 ด้านไม่สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงได้ เว้นแต่รายงานเกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จ สามารถให้ปรับปรุงให้สมบูรณ์ได้

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ.ได้มอบหมายให้สำนัก งาน ก.ค.ศ.ไปจัดทำคู่มือการเตรียมความพร้อมจัดตั้งกรรมการประเมินให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนจากนั้นให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ.พิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะประกาศใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในปีนี้
"ร่างหลักเกณฑ์ที่ออกมาถือเป็นของขวัญให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผมเชื่อว่าจะทำให้เพื่อนครูได้วิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยร่างเกณฑ์นี้จะครอบคลุมข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย" นายชินวรณ์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน    

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด

ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด

Hersey and Blanchrad’s Situation Leadership Theory


          ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ดเป็นทฤษฏีพัฒนาขึ้นโดยเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด
          ทฤษฏีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฏีวงจรชีวิต มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ คือ สถานการณ์ที่ต่างกันย่อมต้องการแบบอย่างผู้นำที่แตกต่างกัน การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้นั้นจำเป็นที่ผู้นำจะต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น
          เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด (Hersey and Blanchard ) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคคลว่า ผู้นำแต่ละคนจะแสดงพฤติกรรมการนำต่อผู้ตาม โดยการผสมผสานพฤติกรรม ๒ ด้านเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้

        ๑. พฤติกรรมที่มุ่งงาน เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่การควบคุม กำกับ กำหนดหน้าที่บทบาทของผู้ตาม
        ๒. พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่ที่สร้างความสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคล หรือ ภายในองค์กร ความเป็นกันเอง ให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน


       ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด จัดกลุ่มคนไว้ 4 กลุ่ม ดังนี้
       1. M1 (บัวใต้น้ำ) เป็นพวกไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถ ขาดความเต็มใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะต่ำ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบของการสั่ง บอกทุกอย่าง
       2. M2 (บัวกลางน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลางมีความรู้ความสามารถไม่มากนัก แต่มีความเต็มใจในการทำงาน รับผิดชอบงานเป็นผู้ที่มั่นใจแต่ขาดความชำนาญ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบการขายความคิด
       3. M3 (บัวปริ่มน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะปานกลางถึงสูง ทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ผู้นำต้องมีการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ให้การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง ผู้นำและผู้ตามร่วมกัน ในการตัดสินใจ การบริหารคนกลุ่มนี้เน้นการทำงานแบบการมีส่วนร่วม
       4. M4 (บัวพ้นน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะสูงมีความรู้ความสามารถมีความเต็มใจและมั่นใจในการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การบริหารคนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการมอบหมายงานให้ทำ/มอบอำนาจในการตัดสินใจ

ลักษณะของผู้ตาม วุฒิภาวะของผู้ตาม ประกอบคุณสมบัติ ๒ ประการ ดังนี้

     ๑. ความสามารถในงาน ได้แก่ ความเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และ มีทักษะ ในงานที่ทำซึ่งเกิดมาจากผลการศึกษา อบรม ตลอดจนถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน
     ๒. ความใส่ใจในงาน ประกอบด้วยความเป็นผู้มีความมั่นใจ มีแรงจูงใจ มีความรักความผูกพัน ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นในงานนั้น

บทสรุป บุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มและมีวิธีบริหาร ดังนี้
    M1 (วุฒิภาวะต่ำ,ความสามารถน้อย,ขาดความรับผิดชอบ = S1 ( Telling ) การสั่งการ
    M2 (วุฒิภาวะปานกลาง,มีความตั้งใจแต่ขาดประสบการณ์ = S2 ( Selling ) การขายความคิด
    M3 (วุฒิภาวะค่อนข้างสูง แต่ยังขาดความมั่นใจ ขาดแรงจูงใจ = S3 ( Participating ) การร่วม
    M4 (วุฒิภาวะสูง ความมั่นใจสูง มีความรับผิดชอบ = S4 (Delegating) การมอบหมายงาน/อำนาจตัดสินใจ

ที่มา http://www.lamptech.ac.th/webprg/computer

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สบายดีเมืองลาว

ไม่มีใครยอมนั่งเลยอะไรจะสนุกขนาดนั้น

น้ำตกคอนพะเพ็ง

ไกด์สาวลาว
เข้าแถวทำอะไรนะอยากรู้ไหมคะ
  
แหกตาสามัคคีหน้าโรงแรม

บ้าน ดร.สมจิต   ค่ะ
 
ขัวโยกเยก
บ้านโพรงไม้
น้ำตกผาส้วม