วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันลอยกระทง


     
       วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง
        ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."
          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ

 ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

          สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
          ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่า ควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่ โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
          เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรัก อันบริสุทธิ์ของแม่ ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย... 

12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ Wallpaper

อบรมครูระดับสูงโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ

อบรมครูปฐมวัยระดับสูง 26-30 กรกฎาคม 2554
ครูปฐมวัย บ้านใหม่ไชยพจน์/นาโพธิ์ /แคนดง/นาโพธิ์/พุทไธสง
อบรมครูทั้งบบระดับสูงปฐมวัยที่ โรงแรมเทพนคร บุรีรัมย์
 

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ

ไฟเขียวเกณฑ์ใหม่เลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญเอื้อครูมีผลงานเด่นระดับชาติ


เมื่อวันที่ 5 มกราคม นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ.ว่า ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ในสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษาสายงานบริหารการศึกษา และสายงานนิเทศก์การศึกษา โดยการขอประเมินวิทยฐานะในเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ขอ ซึ่งผู้ที่จะได้รับการพิจารณาต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิทยฐานะ มีภาระงานการสอนขั้นต่ำ/ภาระงานตามที่ส่วนราชการกำหนด และปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ขอรับการประเมินวิทยฐานะ ว17/2552 มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ โดยต้องเป็นผลงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้มีผลงานดีเด่นที่ครูได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับจากส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมขึ้นไป และมีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับผลงานที่ดีเด่น

ประธานคณะกรรมการ ก.ค.ศ.กล่าวว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องจัดทำผลงานทางวิชาการในรูปแบบเอกสารเต็มรูปแบบ แต่ให้เขียนรายงานเกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ในหัวข้อปัญหาคืออะไร ปฏิบัติอย่างไร ผลเป็นอย่างไร ต่อไปจะทำอย่างไร โดยให้เขียนรายงานไม่เกิน 50 หน้ากระดาษเอ 4 สำหรับการประเมินจะมี 3 ด้าน คือ
ด้านที่ 1.ด้านวินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ และ
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
ส่วนการประเมินจะมีคณะกรรมการประเมิน 2 ชุด ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดที่ 1 ประเมินด้านที่ 1. และ2.และคณะกรรมการชุดที่ 2 จะประเมินด้านที่ 3.ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดที่ 2 จะมีกรรมการประเมินจำนวน 5 คนต่อผู้ขอ1 ราย ซึ่งจะเน้นการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพในการปฏิบัติงานและผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ใช้รายงานของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเสนอประกอบการพิจารณา และจะทำการประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งการประเมินทั้ง 3 ด้านไม่สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงได้ เว้นแต่รายงานเกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จ สามารถให้ปรับปรุงให้สมบูรณ์ได้

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ.ได้มอบหมายให้สำนัก งาน ก.ค.ศ.ไปจัดทำคู่มือการเตรียมความพร้อมจัดตั้งกรรมการประเมินให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนจากนั้นให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ.พิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะประกาศใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในปีนี้
"ร่างหลักเกณฑ์ที่ออกมาถือเป็นของขวัญให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผมเชื่อว่าจะทำให้เพื่อนครูได้วิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยร่างเกณฑ์นี้จะครอบคลุมข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย" นายชินวรณ์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน    

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด

ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด

Hersey and Blanchrad’s Situation Leadership Theory


          ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ดเป็นทฤษฏีพัฒนาขึ้นโดยเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด
          ทฤษฏีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฏีวงจรชีวิต มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ คือ สถานการณ์ที่ต่างกันย่อมต้องการแบบอย่างผู้นำที่แตกต่างกัน การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้นั้นจำเป็นที่ผู้นำจะต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น
          เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด (Hersey and Blanchard ) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคคลว่า ผู้นำแต่ละคนจะแสดงพฤติกรรมการนำต่อผู้ตาม โดยการผสมผสานพฤติกรรม ๒ ด้านเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้

        ๑. พฤติกรรมที่มุ่งงาน เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่การควบคุม กำกับ กำหนดหน้าที่บทบาทของผู้ตาม
        ๒. พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่ที่สร้างความสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคล หรือ ภายในองค์กร ความเป็นกันเอง ให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน


       ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด จัดกลุ่มคนไว้ 4 กลุ่ม ดังนี้
       1. M1 (บัวใต้น้ำ) เป็นพวกไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถ ขาดความเต็มใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะต่ำ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบของการสั่ง บอกทุกอย่าง
       2. M2 (บัวกลางน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลางมีความรู้ความสามารถไม่มากนัก แต่มีความเต็มใจในการทำงาน รับผิดชอบงานเป็นผู้ที่มั่นใจแต่ขาดความชำนาญ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบการขายความคิด
       3. M3 (บัวปริ่มน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะปานกลางถึงสูง ทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ผู้นำต้องมีการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ให้การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง ผู้นำและผู้ตามร่วมกัน ในการตัดสินใจ การบริหารคนกลุ่มนี้เน้นการทำงานแบบการมีส่วนร่วม
       4. M4 (บัวพ้นน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะสูงมีความรู้ความสามารถมีความเต็มใจและมั่นใจในการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การบริหารคนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการมอบหมายงานให้ทำ/มอบอำนาจในการตัดสินใจ

ลักษณะของผู้ตาม วุฒิภาวะของผู้ตาม ประกอบคุณสมบัติ ๒ ประการ ดังนี้

     ๑. ความสามารถในงาน ได้แก่ ความเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และ มีทักษะ ในงานที่ทำซึ่งเกิดมาจากผลการศึกษา อบรม ตลอดจนถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน
     ๒. ความใส่ใจในงาน ประกอบด้วยความเป็นผู้มีความมั่นใจ มีแรงจูงใจ มีความรักความผูกพัน ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นในงานนั้น

บทสรุป บุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มและมีวิธีบริหาร ดังนี้
    M1 (วุฒิภาวะต่ำ,ความสามารถน้อย,ขาดความรับผิดชอบ = S1 ( Telling ) การสั่งการ
    M2 (วุฒิภาวะปานกลาง,มีความตั้งใจแต่ขาดประสบการณ์ = S2 ( Selling ) การขายความคิด
    M3 (วุฒิภาวะค่อนข้างสูง แต่ยังขาดความมั่นใจ ขาดแรงจูงใจ = S3 ( Participating ) การร่วม
    M4 (วุฒิภาวะสูง ความมั่นใจสูง มีความรับผิดชอบ = S4 (Delegating) การมอบหมายงาน/อำนาจตัดสินใจ

ที่มา http://www.lamptech.ac.th/webprg/computer

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สบายดีเมืองลาว

ไม่มีใครยอมนั่งเลยอะไรจะสนุกขนาดนั้น

น้ำตกคอนพะเพ็ง

ไกด์สาวลาว
เข้าแถวทำอะไรนะอยากรู้ไหมคะ
  
แหกตาสามัคคีหน้าโรงแรม

บ้าน ดร.สมจิต   ค่ะ
 
ขัวโยกเยก
บ้านโพรงไม้
น้ำตกผาส้วม


วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขอบคุณอาจารย์วันปิดคอร์ด

นักร้อง  หางเครื่อง  หน้าม้า

สวย ๆหล่อ ๆทั้งนั้น

ใครเป็นใครดูได้ถามได้


ล่องแพกาญจนบุรี



สนุกมากกับหนึ่งคืนบนแพ

นั่งสบายบนแพ



บุรีรัมย์ PEA

 
ถ่ายรูปกับนักเตะขวัญใจ  สุเชาว์  นุชนุ่ม

ถ่ายรูปกับนักเตะขวัญใจ  ธีราทร  บุญมาทัน
 

 

งานเกษียณอายุราชการผู้บริหารโรงเรียน